การตรวจสุขภาพของแบตเตอรี่ (ตอนที่ 2)

Last updated: 26 Jul 2018  |  8591 Views  | 

การตรวจสุขภาพของแบตเตอรี่ (ตอนที่ 2)

ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ จากที่เรารู้แล้วว่าปฏิกิริยาทางเคมีในแบตเตอรี่เป็นตัวทำให้เกิดพลังงาน หรือ Electrochemistry ซึ่งการจ่ายและรับประจุระหว่าง แอโนด (Anode) และ แคโทด (Cathode) ก็คือปฏิกิริยาทางเคมีนั่นเอง ถ้าจะดูในรูปสูตรเคมี ก็จะดูยุ่งยากประมาณนี้ครับ

ในการจ่ายประจุ (Discharging)

Pb(s) + PbO2(s) + 4H+(aq) + 2SO42-(aq) → 2PbSO4(s) + 2H2O(l) E ~ +2 V

ในการรับประจุ (Charging)

2PbSO4(s) + 2H2O(l) → Pb(s) + PbO2(s) + 4H+(aq) + 2SO42-(aq) E ~ -2 V

เอาเป็นว่า พูดกันให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คือ

  • เมื่อมีการจ่ายประจุ ความเข้มข้นของอีเล็กโทรไลต์ หรือ น้ำกรด จะอ่อนลง
  • เมื่อมีการรับประจุ ความเข้มข้นของอีเล็กโทรไลต์ หรือ น้ำกรด จะเข้มขึ้น
เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานของแบตเตอรี่เพิ่มเติม ในการจ่ายประจุ ปฏิกิริยาทางเคมีในแต่ละเซลจะให้กระแสไฟฟ้าประมาณ 2 โวลต์ ดังนั้น แบตเตอรี่รถยนต์จะมี 6 เซล เซลละ 2 โวลต์ จึงมีกระแสเท่ากับ 12 โวลต์นั่นเอง

เมื่อเราทราบหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดนี้แล้ว ปัญหาต่อมาก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สถานะของแบตเตอรี่ตอนนี้เป็นอย่างไร

เพื่อที่จะรู้ความสมดุลของอีเล็กโทรไลต์ เพื่อดูสภาพของแบตเตอรี่ เราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Hydrometer หรืออุปกรณ์วัด “ความถ่วงจำเพาะ” หรือ Specific Gravity (S.G.) เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของอีเล็กโทรไลต์นั่นเอง

วิธีการใช้ Hydrometer (หรือที่เรียกกันติดปากว่า ปรอทวัดน้ำกรด ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับปรอทแม้แต่นิดเดียว) ก็ไม่ยุ่งยากแต่ประการใด เพียงแต่ดูดน้ำกรดในแบตเตอรี่เข้าไปในหลอดแก้วแล้วอ่านค่าความเข้มข้นจากลูกลอยก็จะทราบได้แล้วว่าความเข้มข้นของน้ำกรดเป็นอย่างไร (ดูภาพประกอบ)

ทำความเข้าใจกันตรงนี้นะครับ การใช้ Hydrometer นั้นจะเป็นการวัดค่าเพียงเซลเดียวเท่านั้น ซึ่งในแบตเตอรี่ทั่วไปที่คุ้นเคยกันนั้นเป็นแบบ Mono Block หรือ มีหลายเซลประกอบกันในเปลือกเดียว ดังนั้น การตรวจแบตเตอรี่นั้นจึงต้องดูองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเราจะมาว่ากันต่อในตอนต่อไปครับ

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy